สาเหตุของการเกิด "ภาวะไขมันในเลือดสูง"
กรรมพันธุ์มีความผิดปกติในการใช้ไขมัน และ สลายไขมันในร่างกาย นิสัยการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงภาวะความผิดปกติ หรือโรคบางชนิด เช่น โรคตับอักเสบ โรคทางเดนน้ำดีอุดตัน โรคต่อมไทรอยด์เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น การได้รับยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาฮอร์โมนทุกชนิด หรือยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของระดับไขมันในเลือดสูง
- โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก เวลาออกกำลังกาย
- อัมพาต แขนขาไม่มีแรงไปข้างใดข้างหนึ่ง เวียนศรีษะ บ้านหมุน
- เลือดไปเลี้ยงบริเวณขาไม่พอ ทำให้เวลาเดินแล้วปวดน่อง
- ตับอ่อนอักเสบ (ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง)
ระดับไขมันในเลือด
- Cholesterol 50-200 mg/dl ปกติ
- HDL 40-85 mg/dl ปกติ
- LDL 35-160 mg/dl ปกติ
- Triglyceride 35-160 mg/dl ปกติ
การป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงด้วยอาหาร
การรับประทานอาหาร หรือการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้นอกจากพันธุกรรม และมักเกิดร่วมกับคนอ้วน คนสูงอายุ หรือเป็นโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โรคตับ
- รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพราะอาหารที่เกินความต้องการของร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมในอวัยวะต่างๆ ของเลือด
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ที่มีหนังหรือมันมาก เครื่องในสัตว์ ปริมาณโคเลสเตอรอลจากอาหารไม่ควรเกิน 300 มิลลิกรัม/วัน
- ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงโดยปรุงอาหารด้วยวิธีการต้ม ตุ๋น ปิ้ง ย่าง ผัดน้ำมันน้อย งดอาหารที่ทอดอมน้ำมัน
- อาหารปรุงด้วย-กะทิ ใช้น้ำมันพืชประเภทน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หรือน้ำมันรำข้าว
- ลดการบริโภคขนมหวานต่างๆ น้ำหวาน น้ำอัดลม
- รับประทานผักมากๆ และผลไม้ที่ไม่หวานจัด เพื่อให้ใยในอาหารในการช่วยดูดซึมไขมันแล้วขับออกทางอุจจาระ
- งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง
สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้โดยการควบคุมและลดปริมาณ ดังนี้
- ลดปริมาณอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ สมองสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง เครื่องในสัตว์
- ลดปริมาณอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู หมูสามชั้น หนังไก่ หนังเป็ด
- ลดปริมาณอาหารจำพวกทอดให้น้อยลง
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์มในการประกอบอาหาร
- เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ เช่น ปลา ไก่
- เลือกใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย เป็นต้น
- ปรุงอาหารด้วยวิธี นึ่ง ต้ม ย่าง อบ แทนการ ทอดหรือผัดใช้น้ำมัน
- รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก เช่น ข้าว ซ้อมมือ ผักต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ผลไม้ที่มีรสไม่หวานจัด
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- งดการสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย จะช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มระดับ HDL (ไขมันดี)
- หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
- รับประทานยาลดไขมันตามแพทย์สั่ง (ถ้าจำเป็น)