ไตรกลีเซอไรด์สูง
ไตรกลีเซอไรด์ คือ สารอาหารประเภทไขมันที่ได้จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปและจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายโดยตับและลำไส้เล็ก เป็นตัวสร้างไตรกลีเซอไรด์ 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลอรี่ ไตรกลีเซอไรด์ละลายอยู่ในเลือดได้โดยรวมตัวกับโปรตีน ดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย บางส่วนถูกสะสมไว้ที่เนื้อเยื่อไขมัน
ไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดมีอันตรายหรือไม่
ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้
- หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต
- ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตัโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ
สาเหตุของการเกิดไตรกลีเซอไรด์สูง
- กินอาหารไม่ถูกส่วน โดยเฉพาะกินอาหารที่มีไขมันมากกินน้ำตาลทรายหรือขนมหวานเป็นปริมาณมากเกินไป
- เกิดจากโรคภัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของระดับไขมันในร่างกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต การดื่มเหล้าเป็นประจำ และขาดการออกกำลังกาย
- เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับโปรตีน เช่น ร่างกายขาดเอนไซด์ที่จะย่อยไตรกลีเซอไรด์
การตรวจ
- งดอาหารทุกชนิด ก่อนเจาะเลือดอย่างน้อย 12 ชม.
- ในคนปกติจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่เกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร
แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
- อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันสัตว์
- น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์
การป้องกันและบำบัดรักษา
- ลดปริมาณอาหารไขมันที่รัประทานให้น้อยลง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
- ลดปริมาณการกินข้าว แป้ง น้ำตาลทราย หรือขนมของหวานต่างๆ ให้น้อยลง กินในปริมาณที่พอควรแก่ความต้องการของร่างกายเท่านั้น
- ควรลดน้ำหนักตัวในรายที่อ้วนมากเกินไป
- หมั่นออกกำลังกายทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
- งดดื่มเหล้า เนื่องจากเหล้าจะกระตุ้นให้มีการสร้างไตรกลีเซอไรด์มากขึ้น
- แพทย์จะให้ยาลดไตรกลีเซอไรด์รับประทานในรายที่จำเป็นควบคู่กับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
สิ่งที่ควรงด
- อาหารทอดน้ำมันมากๆ
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์
- งดน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว
- งดของหวาน เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ขนมหวาน