วิธีย้ายสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.
เงื่อนไขการลงทะเบียนสำหรับ “เปลี่ยนหน่วยบริการของสิทธิบัตรทอง”
- ผู้ใช้งานต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สิทธิว่าง
- ต้องมีอายุ 15 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
- จะต้องลงทะเบียนด้วยตนเอง เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีขั้นตอนการลงทะเบียนแทนบุคคลในครอบครัวได้
1. วิธีลงทะเบียน ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช.
ก่อนอื่นคุณจะต้องดาว์นโหลดแอปพลิเคชันลงมือถือสมาร์ทโฟนของคุณก่อน จากนั้นแอปจะเด้งขึ้นมาเป็นหน้าหลักทันที แต่คุณยังไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ เนื่องจากคุณยังไม่ได้ลงทะเบียน ดังนั้นคุณจะต้องลงทะเบียนก่อน โดยสิ่งที่ต้องเตรียมมีเพียงแค่บัตรประชาชนและเบอร์มือถือเท่านั้นค่ะ มาดูวิธีลงทะเบียนผ่านแอป สปสช. ง่าย ๆ กันเลยค่ะ
ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเข้ามายังแอป จะพบหน้าหลักดังรูปภาพ ให้คุณกดเลือก “ตรวจสอบสิทธิตนเอง” หรือ “ลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ” กดอะไรก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อที่ระบบจะลิ้งค์ไปยังหน้าลงทะเบียน
ขั้นตอนที่ 2 กดที่ “ลงทะเบียน” จากนั้นกดที่ “ยอมรับ” เงื่อนไข และกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ตามรูปเลยค่ะ
ขั้นตอนที่ 3 เมื่อกรอกเลขบัตรประชาชนแล้ว ระบบจะแสดงชื่อ-นามสกุล ของคุณ และให้คุณกรอกตัวเลขหลังบัตรประชาชนอีกครั้ง และตามด้วย วัน-เดือน-ปีเกิดของคุณ และเมื่อคุณกรอกข้อมูลทุกอย่างต้องถูกต้องเรียบร้อยแล้ว ระบบจะให้คุณกรอกรหัสผ่านในการเข้าใช้งานแอปนี้เป็นรหัสผ่าน 6 หลัก (ต้องกรอก 2 ครั้ง) โปรดจำรหัสผ่านนี้ให้ได้ด้วยนะคะ เพราะคุณจำเป็นต้องใช้เมื่อคุณจะเปิดแอปครั้งต่อไป
ขั้นตอนที่ 4 กรอกเบอร์โทรศัพท์ของคุณ และกด “ขอรหัส OTP” รอให้ SMS แจ้งรหัสเข้ามาในมือถือของคุณ จากนั้นกรอกรหัส 6 ตัว ลงในแอปและกด “ตรวจสอบ” หากทุกอย่างดำเนินการถูกต้องระบบจะขึ้นแสดงหน้าการยืนยันตัวตนสำเร็จดังรูปค่ะ
ขั้นตอนที่ 5 เมื่อยืนยันตัวเรียบร้อย ระบบจะแสดงข้อมูลปัจจุบันของคุณ อาทิเช่น ชื่อ-นามสกุล, จังหวัดที่ลงทะเบียนรักษา, สิทธิที่ใช้เบิก, สิทธิย่อย, วันที่เริ่มใช้สิทธิ, สถานพยาบาลที่เข้ารักษาเบื้องต้น และสถานพยาบาลที่รับส่งต่อ ดังรูปเลยค่ะ สำหรับใครที่ต้องการย้ายสิทธิบัตรทองของคุณไปโรงพยาบาลอื่น ก็ให้คุณแตะที่หน้าจอตรงไหนก็ได้ จากนั้นหน้าแสดงข้อมูลจะหายไป และขึ้นเป็นหน้าหลักให้คุณเลือกใช้บริการ ให้คุณเลือกกดที่ “ลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ”
2. ย้ายสิทธิบัตรทอง ผ่านแอป สปสช. กรณีที่ที่อยู่ตรงกับบัตรประชาชน
หากที่อยู่ปัจจุบันของคุณตรงกับที่อยู่บนบัตรประชาชน ให้คุณกด “ตกลง” ระบบจะทำการยืนยันตัวตนของคุณ โดยการให้คุณถ่ายรูป 2 ครั้ง (1) ถ่ายรูปบัตรประชาชนของคุณ (2) ถ่ายรูปเซลฟี่คุณคู่กับบัตรประชาชน จากนั้นกด “บันทึก” จากนั้นให้คุณเลือกสถานพยาบาลแห่งใหม่ที่คุณต้องการใช้บริการตามสิทธิบัตรทองของคุณ และกด “ยืนยัน” จากนั้นคุณจะต้องรอให้ระบบทำการอนุมัติการใช้สิทธิที่สถานพยาบาลแห่งใหม่ก่อน ซึ่งจะแจ้งสถานะให้ทราบทุก ๆ วันที่ 15 และ 28 ของเดือนค่ะ3. ย้ายสิทธิบัตรทอง ผ่านแอป สปสช. กรณีที่ที่อยู่ ไม่ ตรงกับบัตรประชาชน
กรณีที่ที่อยู่ของคุณไม่ตรงกับบัตรประชาชน ให้คุณกดเลือกที่ “ไม่ตรง” จากนั้นให้คุณแนบไฟล์เป็นหลักฐานการยืนยันที่อยู่ อาทิเช่น บิลค่าน้ำ, บิลค่าไฟ, หนังสือรับรองการเป็นเจ้าของบ้าน เป็นต้น เมื่อแนบรูปหรือไฟล์เรียบร้อยให้คุณกดที่ “ยืนยัน”วิธีย้ายสิทธิบัตรทองด้วยตนเอง ผ่านไลน์ สปสช. (Line)
ขั้นตอนที่ 1 ทำการสแกน QR Code ของไลน์ สปสช. จากรูป
ขั้นตอนที่ 2 กด “เพิ่มเพื่อน” จากนั้นระบบจะขึ้นบริการมาให้คุณเลือกใช้งาน กดที่ “เปลี่ยนหน่วยบริการ” จากนั้นกดอนุญาตขอใช้สิทธิ์ 2 ครั้ง และกดยืนยันยอมรับเงื่อนไข
ขั้นตอนที่ 3 กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก กรอกตัวเลขหลังบัตรประชาชนอีกครั้ง และตามด้วย วัน-เดือน-ปีเกิดของคุณ และกรอกรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บริการครั้งถัดไป โดยคุณจะต้องจำรหัสนี้ให้ได้ด้วยนะคะ และกรอกเบอร์โทรศัพท์สำหรับการรับรหัส OTP (ทำทุกอย่างขั้นตอนเหมือนกับการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน)
ขั้นตอนที่ 4 สำหรับคนที่มีที่อยู่ตรงกับบัตรประชาชน ให้ทำการถ่ายรูปบัตร และ ถ่ายรูปเซลฟี่คุณคู่กับบัตรประชาชน จากนั้นกดเลือกสถานพยาบาลแห่งใหม่ที่คุณต้องการใช้บริการ (ทำทุกอย่างขั้นตอนเหมือนกับการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน)
ขั้นตอนที่ 5 สำหรับคนที่มีที่อยู่ไม่ตรงกับบัตรประชาชน ให้คุณแนบไฟล์เป็นหลักฐานการยืนยันที่อยู่ อาทิเช่น บิลค่าน้ำ, บิลค่าไฟ, หนังสือรับรองการเป็นเจ้าของบ้าน เป็นต้น (ทำทุกอย่างขั้นตอนเหมือนกับการลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน)
สมัครสิทธิบัตรทอง ทำอย่างไร
1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะสมัครทำบัตรทอง
-
- มีสัญชาติไทย และต้องมีบัตรตัวประชาชน (เพราะต้องใช้ เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก)
- ไม่มีหน่วยสวัสดิการรักษาพยาบาลอื่นอยู่แล้ว
-
2. เอกสารที่ใช้ในการทำสิทธิบัตรทอง
-
- บัตรตัวประชาชน พร้อมสำเนา หากมีอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้ใบสูติบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อของคุณ กรณีอยู่บ้านเช่า หากคุณไม่ได้อาศัยอยู่ตามสำเนาทะเบียนจริง ให้แนบสำเนาทะเบียนบ้านที่คุณอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
- หลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่าคุณพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นจริง อาทิเช่น สัญญาเช่าที่พัก เป็นต้น
- แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า / หรือขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ (ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลเป็นที่อื่น)
-
3. หน่วยงานพื้นที่ใน กทม. สำหรับติดต่อขอทำบัตรทอง
-
- สำนักงานเขต 19 แห่ง เวลาทำการ วันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00- 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
-
-
- คลองสามวา
- คลองเตย
- ธนบุรี
- บางกะปิ
- บางขุนเทียน
- บางพลัด
- บางแค
- ประเวศ
- พระโขนง
- มีนบุรี
- ราชเทวี
- ราษฎร์บูรณะ
- ลาดกระบัง
- ลาดพร้าว
- สายไหม
- หนองจอก
- หนองแขม
- หลักสี่
- ห้วยขวาง
-
-
- ธนาคาร ธ.ก.ส. 3 สาขา
-
-
- สาขาย่อยหมอชิต 2 (เปิดทุกวัน เวลา 08.00 – 19.00 น. )
- สาขาย่อยตลาดยิ่งเจริญ (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30 – 16.30 น. )
- สาขาย่อยวัดไทร (วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. )
-
-
- สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 – 19.00 น. และในวันเสาร์-อาทิตย์ รวมถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในเวลา 08.00 – 17.00 น.
-
4. หน่วยงานพื้นที่ต่างจังหวัด สำหรับติดต่อขอทำบัตรทอง
-
- สถานีอนามัย
- โรงพยาบาลของรัฐที่คุณสะดวกที่สุด
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
- โรงพยาบาลของรัฐที่คุณสะดวกที่สุด
ติดต่อสอบถามข้อมูลหรือปรึกษาได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ